มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ยอดขายรถยนต์ รวมในประเทศไทยปี 2562 ลดลง 3% โดยมียอดขายอยู่ที่ 1,007,552 คัน แต่อย่างไรก็ตามครั้งนี้ยังถือได้ว่าเป็นครั้งที่สี่ในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทยที่มียอดขายถึงระดับหนึ่งล้านคัน ถึงแม้ว่าตลาดรถยนต์มีการหดตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายนผ่านมา”
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2562
ยอดขายรถยนต์ ปี 2562 | เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2561 | |
ปริมาณการขายรวม | 1,007,552 คัน | -3.3% |
รถยนต์นั่ง | 398,386 คัน | -0.3% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 609,166 คัน | -5.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 492,129 คัน | -3.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 431,677 คัน | -3.4% |
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2563 มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “ปีนี้นับเป็นปีที่ท้าทายอีกปีหนึ่งสำหรับตลาดรถยนต์ไทย เนื่องจากตลาดรถยนต์ยังคงเผชิญกับหลายปัจจัย จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนและมาตรการควบคุมสินเชื่อรถยนต์ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมในประเทศจะอยู่ที่ 940,000 คัน ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563
ยอดขาย ประมาณการปี 2563 | เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2562 | |
ปริมาณการขายรวม | 940,000 คัน | -6.7% |
รถยนต์นั่ง | 358,500 คัน | -10.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 581,500 คัน | -4.5% |
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “สำหรับยอดขายโตโยต้าในปี 2562 สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นสวนทางกับสถานการณ์ตลาดที่หดตัวลง โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 332,380 คัน เพิ่มขึ้นประมาณ 6% ครองส่วนแบ่งการตลาด 33.0% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8 จุด โดยปัจจัยหลักมาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้าและจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และรุ่นปรับปรุงใหม่ของรถยนต์นั่งอย่าง New Camry และ New Corolla Altis รวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Yaris และ ATIV ตลอดจนรถเพื่อการพาณิชย์ อย่าง Hilux Revo Z Edition, Commuter และ Majesty”
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2562
ยอดขายปี 2562 | ยอดขายปี 2562 เทียบกับปี 2561 | ส่วนแบ่งตลาด | ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด) |
|
ปริมาณการขายโตโยต้า | 332,380 คัน | +5.5% | 33.0% | +2.8 |
รถยนต์นั่ง | 117,708 คัน | +4.7% | 29.5% | +1.4 |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 214,672 คัน | +5.9% | 35.2% | +3.6 |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 214,672 คัน | +8.3% | 38.9% | +4.3 |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 165,452 คัน | +9.6% | 38.3% | +4.5 |
“สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2563 โตโยต้ามีเป้าหมายการขายที่ 310,000 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.0% ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น พร้อมยกระดับประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถยนต์โตโยต้าด้วยการดูแลเอาใจใส่ลูกค้านับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อรถยนต์ ตลอดจนวันสุดท้ายของการใช้งาน”
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563
ยอดขาย ประมาณการปี 2563 | เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2562 | ส่วนแบ่งตลาด | |
ปริมาณการขายรวม | 310,000 คัน | -6.7% | 33.0% |
รถยนต์นั่ง | 103,000 คัน | -12.5% | 28.7% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 207,000 คัน | -3.6% | 35.6% |
ด้านการส่งออกในปี 2562 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 264,775 คัน ลดลง 10% ทั้งนี้ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 570,850 คัน ลดลง 3% สืบเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายภูมิภาค เช่น โอเชียเนีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2562
ปริมาณ ปี 2562 | เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2561 | |
ปริมาณการส่งออก | 264,775 คัน | -10% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 570,850 คัน | -3% |
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 263,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1% อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศคู่ค้ายังไม่คลี่คลาย นอกจากนี้แผนการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกจะอยู่ที่ 556,000 คัน ลดลง 3%
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2563
ปริมาณ ปี 2563 | เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2562 | |
ปริมาณการส่งออก | 263,000 คัน | -1% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 556,000 คัน | -3% |
“ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปในรอบศตวรรษ โดยโตโยต้ามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรจากเดิมที่เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ สู่การเป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” (Mobility Company) หมายความว่าเราจะมุ่งเดินหน้าพัฒนาการบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้ามีความตั้งใจที่จะเดินหน้าพัฒนาให้เกิด “สังคมที่ดียิ่งขึ้น” (Ever-Better Society) ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการแนะนำรถยนต์ไฮบริดในหลากหลายรุ่น รวมไปถึงการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดในประเทศไทย และการพัฒนาไฮบริดเจเนอเรชั่นที่ 4
มร.ซึงาตะ กล่าวปิดท้ายว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ภายใต้แนวคิดเพื่อทำในสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้…ให้เป็นไปได้ (Start Your Impossible) โดยมีฐานะเป็นผู้สนับสนุนด้านการขับเคลื่อนในระหว่างช่วงการแข่งขัน ซึ่งโตโยต้าไม่เพียงแต่จะสนับสนุนยานพาหนะในการสัญจรไปมาเท่านั้น แต่จะยังมอบการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน ซึ่งรวมไปถึงหุ่นยนต์ด้วย