นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 63 (วปอ.63) นำทีมปลูกป่าจำนวน 40 ไร่ ในรูปแบบการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า พลิกฟื้นคืนชีวิตให้ป่าเสื่อมโทรม เพิ่มพื้นที่สีเขียว และสร้างแหล่งอาหาร สร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน โดยการปลูกกล้าไม้วงศ์ยางที่ใส่เชื้อเห็ดป่า นำไปสู่ความยั่งยืนในการอนุรักษ์ป่าไม้ในพื้นที่ ณ ศูนย์วนวัฒนวิจัยที่ 6 (นครราชสีมา) ในสังกัดส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
กิจกรรม “ปลูกป่า ปลูกอาชีพ กับ วปอ.63” ครั้งนี้ นำโดย ” พลตรี นนธวัฒน์ ภักดิพงศ์พิชญะ ” ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ประธานโครงการ ” พลตรี สาละวิน อุทรักษ์ ” รองผู้อำนวยการสำนักการข่าว สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน กองทัพบก อดีตประธานรุ่น และประสานงานโครงการโดย ” นางสาวจันทร์นภา สายสมร ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด
ดร.คงศักดิ์ มีแก้ว ดุริยะ สถาพร (ทางขวา)
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ” ดร.คงศักดิ์ มีแก้ว ” ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการป่าไม้ ผู้แทนอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานในพิธี และได้รับความร่วมมือจากกรมป่าไม้ นำทีมโดย ” นายดุริยะ สถาพร ” นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าศูนย์วนวัฒนวิจัยที่ 6 (นครราชสีมา) ชมรมรถขับเคลื่อนสี่ล้อกลุ่มกระทิงโทน โรงเรียนในพื้นที่ สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันปลูกป่าพลิกฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ ณ ศูนย์วนวัฒนวิจัยที่ 6 (นครราชสีมา) ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
รวมถึงได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากหลายภาคส่วน ได้แก่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), นายณรงค์วิทย์ อุ่นแสงจันทร์และนายรังสรรค์ ตุลชีวิน หมู่ช้าง วปอ.63, นายขจิตภูมิ สุดศก หมู่กวาง วปอ.63, บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฟู้ดสตาร์ จำกัด, ฟิล์มกรองแสงลามิน่า โดย บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด และสำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการ ทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย
โครงการ “ปลูกป่า ปลูกอาชีพ กับวปอ.63” ได้น้อมนำศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพป่าและสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ ในการรักษาสภาพทางนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจที่จะปลุกจิตสำนึกให้เกิดความรักสิ่งแวดล้อม เกิดความหวงแหนและเล็งเห็นความสำคัญของต้นไม้ที่มีต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของมนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมการดูแลรักษาป่าผ่านเครือข่ายชุมชนอย่างยั่งยืน
กล้าไม้ที่ใช้ในโครงการเพื่อปลูกป่าพลิกฟื้นคืนชีวิตให้ป่าเสื่อมโทรมกว่า 40 ไร่นี้ ประกอบด้วย ยางนา ตะเคียนทอง และพยอม รวมกว่า 3,000 ต้น ซึ่งกล้าไม้ทุกต้นได้ใส่เชื้อเห็ดป่าเรียบร้อยแล้ว ทำให้มีอัตราการเติบโตจะดีกว่ากล้าไม้ที่ไม่ใส่เชื้อเห็ดเกือบสองเท่า และเมื่อปลูกลงพื้นที่จะเกิดเป็นแปลงเพาะเห็ดธรรมชาติตามมา กลายเป็นแหล่งอาหาร สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ยังได้มอบเงินเพื่อสนับสนุนการดูแลผืนป่าดังกล่าวอย่างต่อเนื่องอีก 2 ปี เพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ในโครงการให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งการปลูกป่าในโครงการนี้มีอัตรารอดและเติบโตมากกว่า 95% นอกเหนือจากการคืนผืนป่าให้กับประเทศไทยแล้วยังได้มีโอกาสทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกด้วย
ข่าวที่น่าสนใจอื่นๆเกี่ยวกับ ลามิน่า คลิกที่นี่
Youtube