Home News update โตโยต้าสรุปยอดขายรถยนต์ ปี 2562 และคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศ ปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน

โตโยต้าสรุปยอดขายรถยนต์ ปี 2562 และคาดการณ์ตลาดรวมในประเทศ ปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน

by Gotz
2416 views

มร.ซึงาตะ กล่าวว่า ยอดขายรถยนต์ รวมในประเทศไทยปี 2562 ลดลง 3% โดยมียอดขายอยู่ที่ 1,007,552 คัน แต่อย่างไรก็ตามครั้งนี้ยังถือได้ว่าเป็นครั้งที่สี่ในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทยที่มียอดขายถึงระดับหนึ่งล้านคัน ถึงแม้ว่าตลาดรถยนต์มีการหดตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายนผ่านมา” 

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2562

  ยอดขายรถยนต์ ปี 2562 เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2561
ปริมาณการขายรวม 1,007,552 คัน -3.3%
รถยนต์นั่ง 398,386 คัน -0.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 609,166 คัน -5.1%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 492,129 คัน -3.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 431,677 คัน -3.4%

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2563 มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “ปีนี้นับเป็นปีที่ท้าทายอีกปีหนึ่งสำหรับตลาดรถยนต์ไทย เนื่องจากตลาดรถยนต์ยังคงเผชิญกับหลายปัจจัย จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนและมาตรการควบคุมสินเชื่อรถยนต์ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมในประเทศจะอยู่ที่ 940,000 คัน ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563

  ยอดขาย ประมาณการปี 2563 เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2562
ปริมาณการขายรวม 940,000 คัน -6.7%
รถยนต์นั่ง 358,500 คัน -10.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 581,500 คัน -4.5%

มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “สำหรับยอดขายโตโยต้าในปี 2562 สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นสวนทางกับสถานการณ์ตลาดที่หดตัวลง โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 332,380 คัน เพิ่มขึ้นประมาณ 6% ครองส่วนแบ่งการตลาด 33.0% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8 จุด โดยปัจจัยหลักมาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้าและจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และรุ่นปรับปรุงใหม่ของรถยนต์นั่งอย่าง New Camry และ New Corolla Altis รวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Yaris และ ATIV ตลอดจนรถเพื่อการพาณิชย์ อย่าง Hilux Revo Z Edition, Commuter และ Majesty”

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2562

  ยอดขายปี 2562 ยอดขายปี 2562 เทียบกับปี 2561 ส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาด เติบโต (จุด)
ปริมาณการขายโตโยต้า 332,380 คัน +5.5% 33.0% +2.8
รถยนต์นั่ง 117,708 คัน +4.7% 29.5% +1.4
รถเพื่อการพาณิชย์ 214,672 คัน +5.9% 35.2% +3.6
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 214,672 คัน +8.3% 38.9% +4.3
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 165,452 คัน +9.6% 38.3% +4.5

สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2563 โตโยต้ามีเป้าหมายการขายที่  310,000 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.0% ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น พร้อมยกระดับประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถยนต์โตโยต้าด้วยการดูแลเอาใจใส่ลูกค้านับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อรถยนต์ ตลอดจนวันสุดท้ายของการใช้งาน”

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563

  ยอดขาย ประมาณการปี 2563 เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2562 ส่วนแบ่งตลาด
ปริมาณการขายรวม 310,000 คัน -6.7% 33.0%
รถยนต์นั่ง 103,000 คัน -12.5% 28.7%
รถเพื่อการพาณิชย์ 207,000 คัน -3.6% 35.6%

ด้านการส่งออกในปี 2562 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 264,775 คัน ลดลง 10% ทั้งนี้ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 570,850 คัน ลดลง 3% สืบเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายภูมิภาค เช่น โอเชียเนีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2562

  ปริมาณ ปี 2562 เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2561
ปริมาณการส่งออก 264,775 คัน -10%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 570,850 คัน -3%

สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 263,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1% อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศคู่ค้ายังไม่คลี่คลาย นอกจากนี้แผนการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกจะอยู่ที่ 556,000 คัน ลดลง 3%

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2563

  ปริมาณ ปี 2563 เปลี่ยนแปลง เทียบกับปี 2562
ปริมาณการส่งออก 263,000 คัน -1%
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 556,000 คัน -3%

“ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปในรอบศตวรรษ โดยโตโยต้ามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรจากเดิมที่เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ สู่การเป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” (Mobility Company) หมายความว่าเราจะมุ่งเดินหน้าพัฒนาการบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้ามีความตั้งใจที่จะเดินหน้าพัฒนาให้เกิด “สังคมที่ดียิ่งขึ้น” (Ever-Better Society) ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการแนะนำรถยนต์ไฮบริดในหลากหลายรุ่น รวมไปถึงการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดในประเทศไทย และการพัฒนาไฮบริดเจเนอเรชั่นที่ 4

มร.ซึงาตะ กล่าวปิดท้ายว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ภายใต้แนวคิดเพื่อทำในสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้…ให้เป็นไปได้ (Start Your Impossible) โดยมีฐานะเป็นผู้สนับสนุนด้านการขับเคลื่อนในระหว่างช่วงการแข่งขัน ซึ่งโตโยต้าไม่เพียงแต่จะสนับสนุนยานพาหนะในการสัญจรไปมาเท่านั้น แต่จะยังมอบการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน ซึ่งรวมไปถึงหุ่นยนต์ด้วย

 

Home

Please follow and like us:

Related Articles

Verified by MonsterInsights