มร.ยามาชิตะ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามาตรการจากทางภาครัฐประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน ทำให้เราเชื่อมั่นว่าสถานการณ์กำลังจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และคาดว่าอนาคตอันสดใสกำลังจะเริ่มขึ้นนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ถึงแม้ว่าสถานการณ์การระบาดจะกลับมาอีกครั้งก็ตาม ทั้งนี้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดจะอยู่เคียงข้างคนไทยเสมอ พร้อมต่อสู้ไปด้วยกันจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งนี้จะสิ้นสุดลง และหวังว่าคนไทยทุกคนจะปลอดภัยและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ”
มร.ยามาชิตะ กล่าวต่อไปว่า “สำหรับยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายลดลง 21.4% โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน”
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2563 | ยอดขายปี 2563 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2562 |
ปริมาณการขายรวม | 792,146 คัน | -21.4% |
รถยนต์นั่ง | 274,789 คัน | -31.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 517,357 คัน | -15.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 409,463 คัน | -16.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 364,887 คัน | -15.5% |
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “ในปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้แล้ว จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 | ยอดขายประมาณการปี 2564 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการขายรวม | 850,000 – 900,000 คัน | + 7-14% |
รถยนต์นั่ง | 290,000 – 318,000 คัน | + 5-15% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 560,000 – 582,000 คัน | + 8-13% |
สำหรับยอดขายโตโยต้าในปี 2563 ยอดขายรวมของโตโยต้าลดลง 26.5% หรือคิดเป็นจำนวน 244,316 คัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯ จะเผชิญกับความยากลำบากมากมายในปีที่ผ่านมา แต่ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 30.8% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ อย่าง โคโรลล่า ครอส ยาริส เอทีฟ ฟอร์จูนเนอร์ เลเจนเดอร์ ไฮลักซ์ รีโว่ และอินโนว่า คริสต้า ทั้งหมดนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า และส่งผลให้โตโยต้าสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563 | ยอดขายปี 2563 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2562 | ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 244,316 คัน | -26.5% | 30.8% |
รถยนต์นั่ง | 68,152 คัน | -42.1% | 24.8% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 176,164 คัน | -17.9% | 34.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 149,635 คัน | -21.9% | 36.5% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 129,893 คัน | -21.5% | 35.6% |
สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2564 โตโยต้ามีเป้าหมายการขายอยู่ระหว่าง 280,000 – 300,000 คัน หรือคิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 15 – 20% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.3%
ปริมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 | ยอดขายประมาณการปี 2564 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 | ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 280,000 – 300,000 คัน | + 15-23% | 33.0% |
รถยนต์นั่ง | 82,500 – 92,000 คัน | + 21-35% | 29.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 197,500 – 208,000 คัน | + 12-18% | 36.0% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 168,500 – 181,000 คัน | + 13-21% | 38.0% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 144,000 – 153,000 คัน | + 11-18% | 38.0% |
ด้านการส่งออกในปี 2563 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 215,277 คัน ลดลง 18.7% ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 442,822 คัน ลดลง 22.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2563 | ปริมาณปี 2563 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2562 |
ปริมาณการส่งออก | 215,277 คัน | -18.7% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 442,822 คัน | -22.4% |
ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 254,000 คัน เพิ่มขึ้น 18% จากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากภูมิภาคหลัก เช่น เอเชียและโอเชียเนีย ทั้งนี้โตโยต้าตั้งเป้าการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 527,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 19% จากปี 2563 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายยอดขายของทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2564 | ปริมาณปี 2564 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการส่งออก | 254,000 คัน | 18% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 527,000 คัน | 19% |
มร.ยามาชิตะ กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในประเทศไทยว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมของเราได้ก้าวสู่ยุคแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่โดยโตโยต้ามุ่งมั่นปฏิรูปองค์กรจากเดิมที่เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สู่การเป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” (Mobility Company) เรามีเป้าหมายเดินหน้ามอบความสุขให้กับสังคมไทย ด้วยกิจกรรมต่างๆที่โตโยต้าดำเนินการเพื่อผลักดัน “ธุรกิจการขับเคลื่อน” ของเรา
จาก “พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า 2050” เรามุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็น “ศูนย์” ในทุกกิจการที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ โดยในระดับโลกเราได้ท้าทายตัวเองให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 90% เมื่อเทียบกับปี 2553 และที่ผ่านมาเราได้แนะนำยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่น อาทิ รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง เราเชื่อมั่นว่ารถยนต์เหล่านี้นำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย
ปัจจุบัน เรามีพันธมิตรที่ร่วมกระบวนการบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดใช้แล้วแบบครบวงจร หรือ “3R Scheme” ประกอบด้วย การใช้ซ้ำ (Re-use) การผลิตแบตเตอรี่เกรดใช้งานแล้วลูกใหม่ (Re-build) และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) นอกจากนี้โตโยต้ายังสนับสนุนหลากหลายโครงการเพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ในการส่งเสริมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยในขั้นตอนแรก เราได้สนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกับบรรดามหาวิทยาลัย โดยมุ่งศึกษาแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
นอกจากนี้เดือนที่ผ่านมา เรายังได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับเทศบาลเมืองพัทยา และโอซาก้า แก๊ซ เพื่อพัฒนา “โครงการการจัดตั้งเมืองที่ยั่งยืนโดยปราศจากมลภาวะ” ซึ่งเป็นโครงการสาธิตเพื่อนำรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหลากหลายรุ่นมาใช้งาน โดยตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการสัญจรที่หลากหลายภายในเมืองพัทยา และจะยืนยันอีกครั้งว่าผลการศึกษาวิจัยของเราสามารถนำมาใช้งานจริงได้หรือไม่ เราหวังว่าผลของโครงการจะเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับการต่อยอดในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป
ในฐานะ “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” เรายังจะเดินหน้ามอบประสบการณ์ที่ดียิ่งกว่าให้กับลูกค้าคนสำคัญของเรา โดยการร่วมมือกับบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง จำกัด และพันธมิตรทางธุรกิจที่หลากหลายเพื่อยกระดับการบริการของเรา และเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการในรูปแบบใหม่ในการที่จะพัฒนา เริ่มตั้งแต่ “ประสบการณ์การซื้อรูปแบบใหม่” (New Buying Experience) ผ่าน โครงการคินโตะ (KINTO) ซึ่งเป็นบริการเช่ารถของเราโดยเพิ่มตัวเลือกของรุ่นรถสำหรับให้เช่า และแพ็กเกจการให้บริการ พร้อมทั้ง “การอนุมัติสินเชื่อรถยนต์รูปแบบใหม่” (Connected Auto Loan) หรือ CAL ที่ทำให้ลูกค้าสามารถ “เป็นเจ้าของรถยนต์ได้ง่ายขึ้น” ผ่านระบบเทเลมาติกส์
นอกจากนี้ เรายังแนะนำแพลตฟอร์มใหม่ “โตโยต้า วอลเล็ท” (Toyota Wallet) กระเป๋าเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มอิสระในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และตอบสนองต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคหลังโควิด-19 ในการยกระดับ “ประสบการณ์การใช้งานรูปแบบใหม่” (New Usage Experience) เราได้นำเทคโนโลยี “T-Connect” เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรถรุ่นใหม่ๆ หลากหลายรุ่น อาทิ ไฮลักซ์ รีโว่ ฟอร์จูนเนอร์ใหม่ โคโรลล่า ครอส และอินโนว่า คริสต้า โดยมี “ระบบติดตามรถหาย” “รายงานการเดินทาง” “ค้นหาตำแหน่งรถ” และ “บริการผู้ช่วยส่วนตัว” ยิ่งไปกว่านั้น “T-Connect” ยังมีบทบาทสำคัญในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเราได้แนะนำประกันภัยรูปแบบใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ “ประกันภัยขับดีลดให้” (Toyota Care PHYD) ซึ่งถือเป็นประกันภัยที่มอบความคุ้มค่า โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่เพื่อการคำนวณเบี้ยประกันภัย
มร.ยามาชิตะ ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า “แม้ว่าโตโยต้าจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของโรคโควิด-19 เราก็ยังคงเดินหน้าสนับสนุนสังคมไทย ด้วยการดำเนินโครงการ “โตโยต้าเคียงคู่ไทย สู้ภัยโควิด-19” (Toyota Stay With You) ภายใต้ความร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตชิ้นส่วนของเราทั่วประเทศ นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นจะบรรลุภารกิจของเราที่จะนำพาสังคมไทยไปสู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท ด้วยโครงการ “โตโยต้า ถนนสีขาว” เรามุ่งมั่นที่จะสร้าง “สังคมคนขับรถดี” ด้วยการเพิ่มจำนวนผู้ขับขี่ที่มีทักษะสูง และเมื่อปีที่ผ่านมา เราได้ยกระดับหลักสูตรการขับขี่ปลอดภัยจากเดิมคือ “Safe Eco Driving Course” พัฒนาเป็นหลักสูตร “Toyota Mobility Driving Course” โดยที่ผ่านมา เราได้จัดการอบรมหลักสูตรดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมทั้งหมด 5,000 คน ประกอบด้วยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้ยังมี “โตโยต้า เมืองสีเขียว” เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้าซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงงานประกอบรถยนต์ของเรา เรามุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ของเราให้กับประชาชน เพื่อขยาย “โตโยต้า เมืองสีเขียว” ไปในภูมิภาคต่างๆ ร่วมกับผู้แทนจำหน่ายของเรา “โครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์” มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยหลักการของระบบการผลิตแบบโตโยต้า ในปีที่แล้วเราประสบความสำเร็จในโครงการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ให้กับธุรกิจท้องถิ่น 6 แห่ง และในปีนี้ เราจะดำเนินการสร้างศูนย์การเรียนรู้ใหม่จำนวน 3 แห่ง ทั่วประเทศ ตลอดจนขยายผลการดำเนินงานต่อเนื่องให้กับธุรกิจต่างๆ อีก 10 แห่ง
จากที่ได้กล่าวไปทั้งหมด เราขอแสดงความขอบคุณต่อภาครัฐ และลูกค้าของเราทุกท่านตลอดจนผู้มีส่วนร่วมทุกท่านที่ได้สนับสนุน “ทีมโตโยต้า ประเทศไทย” เป็นอย่างดีเสมอมา แม้เราจะอยู่ท่ามกลางช่วงเวลาอันยากลำบากก็ตาม ตามแนวทางของโตโยต้าในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางสำคัญในระดับภูมิภาคที่ทำหน้าที่ผลิตและส่งออกรถยนต์ของโตโยต้า และในฐานะที่เป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” โตโยต้ามุ่งมั่นที่จะทุ่มเทความพยายาม เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น และเราขอให้คำมั่นว่าจะมอบความสุขที่เหนือระดับให้กับประชาชนชาวไทยทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์ บริการ การดำเนินธุรกิจ และสังคม” มร.ยามาชิตะกล่าวในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 104,089 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 33,197 คัน | เพิ่มขึ้น 12.6% | ส่วนแบ่งตลาด 31.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 22,917 คัน | เพิ่มขึ้น 45.3% | ส่วนแบ่งตลาด 22.0% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 10,075 คัน | เพิ่มขึ้น 5.6% | ส่วนแบ่งตลาด 9.7% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 38,130 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 8,811 คัน | ลดลง 12.6% | ส่วนแบ่งตลาด 23.1% |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า | 8,378 คัน | เพิ่มขึ้น 22.4% | ส่วนแบ่งตลาด 22.0% |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 3,475 คัน | ลดลง 3.1% | ส่วนแบ่งตลาด 9.1% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 65,959 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 24,386 คัน | เพิ่มขึ้น 25.7% | ส่วนแบ่งตลาด 37.0% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 22,917 คัน | เพิ่มขึ้น 45.3% | ส่วนแบ่งตลาด 34.7% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 4,595 คัน | เท่าเดิม | ส่วนแบ่งตลาด 7.0% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 51,516 คัน เพิ่มขึ้น 14.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 21,566 คัน | เพิ่มขึ้น 46.9% | ส่วนแบ่งตลาด 41.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 20,123 คัน | เพิ่มขึ้น 17.5% | ส่วนแบ่งตลาด 39.1% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 4,595 คัน | เท่าเดิม | ส่วนแบ่งตลาด 8.9% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,512 คัน
อีซูซุ 2,806 คัน – โตโยต้า 2,709 คัน – มิตซูบิชิ 1,118 คัน – ฟอร์ด 856 คัน – นิสสัน 23 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 44,004 คัน เพิ่มขึ้น 11.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 18,760 คัน | เพิ่มขึ้น 34.9% | ส่วนแบ่งตลาด 42.6% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 17,414 คัน | เพิ่มขึ้น 16.4% | ส่วนแบ่งตลาด 39.6% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 3,739 คัน | ลดลง 3.9% | ส่วนแบ่งตลาด 8.5% |
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 792,146 คัน ลดลง 21.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 244,316 คัน | ลดลง 26.5% | ส่วนแบ่งตลาด 30.8% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 181,194 คัน | เพิ่มขึ้น 7.7% | ส่วนแบ่งตลาด 22.9% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 93,041 คัน | ลดลง 26.1% | ส่วนแบ่งตลาด 11.7% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 274,789 คัน ลดลง 31.0%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 77,419 คัน | ลดลง 19.5% | ส่วนแบ่งตลาด 28.2% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 68,152 คัน | ลดลง 42.1% | ส่วนแบ่งตลาด 24.8% |
อันดับที่ 3 นิสสัน | 27,120 คัน | ลดลง 24.3% | ส่วนแบ่งตลาด 9.9% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 517,357 คัน ลดลง 15.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 181,194 คัน | เพิ่มขึ้น 7.7% | ส่วนแบ่งตลาด 35.0% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 176,164 คัน | ลดลง 17.9% | ส่วนแบ่งตลาด 34.1% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 35,046 คัน | ลดลง 29.0% | ส่วนแบ่งตลาด 6.8% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 409,463 คัน ลดลง 16.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 168,467 คัน | เพิ่มขึ้น 10.0% | ส่วนแบ่งตลาด 41.1% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 149,635 คัน | ลดลง 21.9% | ส่วนแบ่งตลาด 36.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 35,046 คัน | ลดลง 29.0% | ส่วนแบ่งตลาด 8.6% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 44,576 คัน
โตโยต้า 19,742 คัน – มิตซูบิชิ 9,342 คัน – อีซูซุ 8,139 คัน – ฟอร์ด 5,343 คัน – นิสสัน 1,338 คัน – เชฟโรเลต 672 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 364,887 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 160,328 คัน | เพิ่มขึ้น 11.6% | ส่วนแบ่งตลาด 43.9% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 129,893 คัน | ลดลง 21.5% | ส่วนแบ่งตลาด 35.6% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 25,704 คัน | ลดลง 28.2% | ส่วนแบ่งตลาด 7.0% |